Blynk แพลตฟอร์มนั้นเป็นแพลตฟอร์มระบบอัตโนมัติ (IoT หรือ Internet Of Thing) ที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น โดยวันนี้เราจะมาลองดูกันว่า แพลตฟอร์มนี้จะง่ายขนาดไหนกัน

ขั้นที่ 1 : สร้าง template ของอุปกรณ์ต่างๆ

         เทมเพลตของ Blynk นั้นเป็นการกำหนดโครงสร้างของอุปกรณ์ ว่าจะรับ-ส่งค่าอะไรบ้างกับทางแพลตฟอร์มรวมถึงการแสดงค่าผ่านทางกระดาน (dash bord) ก็จะกำหนดที่นี้เช่นกัน ทำให้การตั้งค่าต่างๆ กับเทมเพลต อุปกรณ์ที่ใช้เทมเพลตดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

หลังจากที่เรากดเลือกสร้างขึ้นมาทางแพลตฟอร์มจะให้เรากรอกชื่อพร้อมกับระบุบอร์ดที่ใช้และชนิดการเชื่อมต่อหลักจากเรากำหนดค่าเสร็จแล้วให้ทำการกด “Done”

เราจะได้เทมเพลตที่เราสร้างมาเพื่อใช้ในขั้นต่อไปแล้ว

ขั้นที่ 2 : กำหนดค่าที่จะรับส่งผ่าน data stream

         หลังจากที่เราสร้างเทมแพลตเสร็จแล้วเราจะมากำหนดค่ากันว่าอุปกรณ์ที่อยู่ในเทมแพลตนี้จะรับส่งค่าได้อย่างไรบ้าง เริ่มจากให้เลือกเทมเพลตแล้วเลือก -> Datastreams -> new Datastreams หลังจากนั้นให้เลือกชนิดของขาที่ต้องการโดยวันนี้เราจะใช้ Virtual Pin เนื่องจากเป็นชนิดขาที่สามารถกำหนดค่าได้ว่าจะเป็นค่าอะไร อีกทั้งยังป้องกันการสับสนขณะที่เขียนโปรแกรมที่จะควบคุมบอร์ดอีกด้วย

หลังจากที่เราเลือกเสร็จแล้วเราก็จะสามารถกำหนดค่าได้ว่า Datastreams นี้จะเป็นค่าของอะไร ชนิดตัวแปรอะไร และค่าที่เป็นได้ตามที่เราต้องการ

เมื่อเรากดสร่างขึ้นมาเราจะยังสามารถสร้างได้เพิ่มขึ้นอีกโดยหากใช้ตัวฟรี จะกำหนดได้ 5 Datastreams ต่อ 1 เทมเพลต หลังจากนั้นให้ทำการกดบันทึก

ขั้นที่ 3 : แสดงค่าที่รับส่งมาด้วย Dashboard.

         Dashboard เป็นการแสดงค่าที่มีในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถแสดงได้หลากหลายค่า และหลายสไตล์แล้วแต่ว่าต้องการแบบใด โดยแต่ละจุดที่แสดงค่าออกมาจะเรียกว่า Widget ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ โดยวันนี้เราจะยกตัวอย่าง Widget คือ Label

โดยขั้นแรกให้ทำการเลือกที่ web Dashboard -> Edit หลังจากนั้นให้เลื่อนหา Widget ที่เราจะใช้กัน

หลังจากนั้นเราสามารถลากวาง Widget และปรับขนาดได้ทันที

เมื่อเราได้ Widget ตามที่เราต้องการแล้ว ให้ทำการเอาเมาท์ไปชี้ที่ Widget ดังกล่าวแล้วกดรูปเฟือง หลังจากนั้นให้ทำการเลือก Datastreams ที่เรานั้นได้ตั้งค่าไว้

เมื่อเรานั้นเลือก Datastreams ที่ต้องการแสดงแล้วทางแพลตฟอร์มจะทำการตั้งค่าไว้บางส่วนที่สอดคล้องกับ Datastream แต่เรายังสามารถแก้ไขได้ เช่น สี การจัดเรียง หรือการเปลี่ยนสีตามค่าที่แสดง เมื่อเราตั้งค่าตามที่เราต้องการแล้ว ก็ทำการกดบันทึกค่า โดยค่าที่แสดงออกมาจะเป็นค่าที่สุ่ม

ขั้นที่ 4 : สร้างอุปกรณ์จากเทมเพลตที่สร้างไว้


         ตอนนี้เราสามารถสร้างอุปกรณ์จากเทมเพลตที่เรานั้นได้ตั้งค่าไว้ โดยให้เราเลือกที่        device -> new device

หลังจากนั้นให้ทำการเลือกที่ From template แล้วทำการเลือกเทมเพลตที่เรานั้นได้ตั้งค่าไว้ แล้วกดสร้าง

เมื่อระบบสร้างสำเร็จให้เลือกที่ Device Info เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้งโทเคนที่จะต้องใช้

         จะสังเกตได้ว่า Blynk เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานค่อนข้างที่จะง่ายในการตั้งค่าระบบต่างๆ แต่บางฟังชั่นจะยังต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าใช้งาน อีกทั้งทางแพลตฟอร์มยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ที่ทำงานเหมือนกันแต่มีหลายตัว เนื่องจากการกำหนดหรือตั้งค่าเทมเพลตเดียวจะเป็นการตั้งของทุกอุปกรณ์ที่ใช้เทมเพลตดังกล่าว