อากาศในปัจจุบัน ทำให้คนเสียชีวิตได้
คุณภาพอากาศในปัจจุบันนี้แย่ลงขึ้นทุกวัน แล้วเป็นแบบนี้ทุก ๆ ปี แล้วมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่าพบผู้เสียชีวิตด้วยมลพิษทางอากาศในปี 2559 จำนวน 8 ล้านคนต่อปี เป็นภายนอกอาคาร 4.2 ล้านคน/ปี และ ภายในอาคาร 3.8 ล้านคนต่อปี มลพิษอากาศภายในอาคารยังเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยของคนที่อยู่ในอาคารที่ เรียกว่า building related illness (BRI) คือโรคที่สามารถหาสาเหตุของการเจ็บป่วยได้ชัดเจน เช่น ไข้หวัดจากเชื้อไวรัส วัณโรค ผิวหนังอักเสบ จมูกอักเสบ จากไรฝุ่นหรือสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น
อากาศในกรุงเทพมหานคร มีมลพิษหรืออากาศเสีย
จากสำรวจพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ทำงานอยู่ภายในอาคารทำให้ได้รับ หรือสัมผัสมลพิษจากอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ภายในอาคาร และจากงานวิจัยยังพบว่ามลพิษบางประเภทเกิดจากภายในอาคาร อย่างเช่น สารอินทรีย์ระเหย มาจากวัสดุตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ สำนักงาน น้ำยาทำความสะอาด หรือแม้แต่เครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ใช้อาคาร นอกจากนี้ผลการวัดอัตราการ ระบายอากาศของสำนักงาน 17 แห่งในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีค่าเฉลี่ย 0.29 จำนวนเท่าของปริมาตรห้อง ต่อชั่วโมง โดยมี 5 สำนักงานมีอัตราการระบายอากาศต่ำกว่า 0.05 จำนวนเท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง และ เมื่อพิจารณาอุณหภูมิในอาคารพบว่ามีค่าเฉลี่ย 23.5 องศาเซลเซียส จึงเป็นไปได้ว่าเพื่อเป็นการประหยัด พลังงานในการปรับอากาศ อาคารเหล่านี้จึงลดการนำอากาศจากภายนอกเข้าสู่อาคารจนกระทั่งกลายเป็น อาคารที่ปิดมิดชิดหรือ tight building ส่งผลให้เกิดการสะสมเพิ่มขึ้นของระดับมลพิษอากาศภายในอาคาร และยังอาจมีผลต่ออาการเจ็บป่วยของผู้อยู่อาศัยในอาคาร เช่น การเจ็บตา เคืองตา ระคายเคืองตา ซึ่งมีการ รายงานการเจ็บป่วยถึงร้อยละ 21 เป็นต้น ยังพบว่ามี เป็นโรคภูมิแพ้ ระบบหายใจ ในผู้ป่วย หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
หลักการควบคุมมลพิษในอาคาร
โดยทั่วไปการควบคุมมลพิษอากาศภายในอาคารประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก คือ
(1) การควบคุมที่ แหล่งกำเนิด (source control) ก่อนที่จะมีการปลดปล่อยมลพิษออกสู่บรรยากาศในอาคาร ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติ ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการกำจัดมลพิษเมื่อถูกปล่อยสู่บรรยากาศแล้ว
(2) การระบายอากาศ (ventilation) มีสองรูปแบบด้วยกัน คือ การนำมลพิษอากาศในอาคารออกนอกอาคาร และการนำอากาศ สะอาดจากภายนอกมาเจือจางมลพิษอากาศภายในอาคาร และ
(3) การทำความสะอาดอากาศที่ปนเปื้อนหรือ การฟอกอากาศ (air cleaning)
ประเภทของเครื่องกรองอากาศ
แบ่งประเภทได้ 2 ประเภท คือ
(1) เครื่องฟอกอากาศแบบใช้ไส้กรองทางกล (mechanical air filter) เช่น เครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA (high efficiency particle air filter) ซึ่งฝุ่นละอองในอากาศ จะถูกกำจัดออกด้วยแผ่นกรองที่ติดตั้งในตัวเครื่อง
(2) เครื่องฟอกอากาศโดยใช้หลักการทางไฟฟ้า (electronic air cleaner) เช่น เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic precipitator) และเครื่อง ฟอกอากาศแบบสร้างอิออน (ionizer) ซึ่งมีกระบวนการทำให้อนุภาคฝุ่นเกิดประจุไฟฟ้าที่ผิว แล้วเกิดการ เคลื่อนที่ด้วยแรงทางไฟฟ้ามาติดที่แผ่นโลหะดักในตัวเครื่อง
ข้อควรระวัง
(1) เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electronic air cleaner) ขณะที่มีการใช้งานเครื่องจะมีการ ผลิตก๊าซโอโซนขึ้น ซึ่งก๊าซโอโซนจัดว่าเป็นก๊าซพิษสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้ ถึงแม้ว่าเครื่องฟอกประเภทนี้บางรุ่นที่ขายในท้องตลาดจะติดตั้งสารดูดซับก๊าซโอโซนก็ตาม ผลการทดสอบใน งานวิจัยก็ยังสามารถวัดปริมาณโอโซนที่ถูกปล่อยออกมาจากตัวเครื่องฟอกขณะเปิดใช้งาน นอกจากนี้การใช้ เครื่องฟอกอากาศประเภทนี้ร่วมกับการใช้สารให้ความหอม (air freshener) ที่มักใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่น เช่น เทอร์พีน (terpenes) ให้กลิ่นส้ม มะนาว ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างโอโซนและสารเคมีเหล่านี้สามารถก่อ สารมลพิษอื่นๆ ตามมา เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) อะเซทัลดีไฮด์ (acetaldehyde) อะซิโตน (acetone) เป็นต้น รวมทั้งก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กระดับนาโนเมตร (ultrafine particle)
(2) การใช้ต้นไม้ประดับฟอก อากาศในอาคารนั้นยังมีข้อจำกัดเนื่องจากการดักจับฝุ่นละอองหรือการดูดซับก๊าซมลพิษด้วยต้นไม้จะเกิดขึ้นที่ ใบเป็นหลัก ดังนั้นยิ่งพื้นที่ใบที่สัมผัสกับมลพิษอากาศเพิ่มขึ้นมากเท่าไร โอกาสที่ต้นไม้จะกำจัดมลพิษก็เพิ่มขึ้น ตามไปด้วย ซึ่งต้องใช้การออกแบบจัดวางในแนวดิ่งหรือที่เรียกว่า ‘กำแพงเขียว (green wall)’ บวกกับการใช้ พลังงานบังคับการเคลื่อนที่ของอากาศให้ไหลผ่านกำแพงเขียวจะช่วยเพิ่มจำนวนครั้งของอากาศที่ถูกฟอกด้วย ต้นไม้
สรุป
ในปัจจุบันนี้การอยู่ภายในอาคาร และภายนอกอาคารไม่ปลอดภัยอย่างเมือก่อนแล้ว แต่การทำงานของคนในเมืองมักจะทำงานในอาคาร ในห้องปิดหรือห้องแอร์ เป็นส่วนมาก การมีเครื่องเติมอากาศที่ผ่านกระบวนการกรองด้วย HEPA Filter จะช่วยทำให้มลพิษในอาคารนั้นหายไปได้ แนะนำเครื่องเติมอากาศในห้อง ที่สามารถไล่อากาศเสียได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคระบบหายใจ ผู้สูงอายุ แล้วยังช่วยลดฝุ่นที่อยู่ภายในห้องได้อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1 ดนัย ธีวันดา. (2562). การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคาร. การสัมมนาวิชาการ เรื่อง My building is killing me: How to grow fresh indoor air, 12 กันยายน 2562 ณ วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
2 มณีรัตน์ องค์วรรณดี. (2562). 13 ปี งานวิจัยคุณภาพอากาศในอาคาร. การสัมมนาวิชาการ เรื่อง My building is killing me: How to grow fresh indoor air, 12 กันยายน 2562 ณ วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
3 ตุลย์ มณีวัฒนา. (2562). การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร และมาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้. การสัมมนาวิชาการ เรื่อง My building is killing me: How to grow fresh indoor air, 12 กันยายน 2562 ณ วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.