IoT Traffic แก่รถติด V2I V2V

การเดินทางบนท้องถนนทุกวันนี้ มีความวุ่นวายมากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเมืองหลวง ซึ่งมีผู้ใช้รถใช้ถนนมากมาย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า ปัญหาการจราจรในบ้านเรานับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกเส้นทางไม่ว่าจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมืองหรือมุ่งหน้าออกสู่ชานเมือง ก็หนาแน่นไปด้วย ยานพาหนะหลากหลายประเภท โดยเฉพาะรถยนต์ ไม่เว้นแม้แต่ทางด่วน ที่ทุกวันนี้บางช่วงเวลากลับกลายเป็นทางไม่ด่วนเช่นกัน 

ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ คงเป็นเรื่องยากที่เราจะหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้ทัน แต่เราสามารถแก้ไขปัญหา ต่างๆที่เกี่ยวกับการจราจร หรือแม้กระทั่งไฟสัญญาณจราจร และนี่คือเรื่องที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้

ลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ต ของคนเราทุกวันนี้ มีความแพร่หลาย ทั้งยังถูกนำไปใช้กับสิ่งต่างๆ มากมายรวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้น สัญญาณหรือระบบการเชื่อมต่อการสื่อสารในรถยนต์ อีกรูปแบบที่มีความทันสมัยกำลังจะก้าวเข้ามาเปลี่ยนชีวิตการทำงานและการเดินทางของคนยุคใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจากงานวิจัยของบริษัทกันตา ผู้ตอบแบบสอบถาม 47% ไม่เคยรู้ว่ารถยนต์ที่ตัวเองขับ มีระบบการเชื่อมต่อการสื่อสารหรือไม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะยังมีอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้ว่าบนโลกใบนี้มีเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่มีความล้ำหน้าขนาดนี้อยู่ด้วย

Internet of things : การเชื่อมต่อระบบสื่อสารในรถยนต์ V2I and V2V

การเชื่อมต่อการสื่อสารในรถยนต์ นับว่าเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ตรงตามเทรนของเทคโนโลยี แล้วมันมีความสำคัญมีความจำเป็นต่อโลกนี้มาก ถ้าหากเราสามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันผ่านช่องทางที่เรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ต่างๆที่ดูธรรมดา จะกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นการรายงาน สภาพของวัตถุดิบที่มีอยู่ในตู้เย็น จากการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในตู้เย็น หรือในส่วนของการสื่อสารระหว่างรถยนต์ ที่ล่าสุดได้มีการทดลอง ใช้เทคโนโลยีที่จะทำให้ รถยนต์สามารถสื่อสารกับ สัญญาณไฟจราจรได้

IoT Traffic แก่รถติด

โดยการทดลองนี้ เกิดขึ้นจากบริษัทผลิตยานยนต์ในประเทศสเปน กำลังจะใช้เทคโนโลยี ที่มีชื่อว่า V2I หรือ Vehicle to Infrastructure ซึ่งมันทำให้ยานพาหนะสามารถสื่อสารกับสัญญาณไฟจราจรได้ รถยนต์รุ่นใหม่ของ Sead Leon สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สัญญาณไฟจราจร ทำให้เมื่อรถเข้าใกล้สัญญาณไฟจราจรจะมีเสียงแจ้งเตือนบนจอในหน้ารถ ไม่ว่าจะเป็น ไฟแดง เหลือง เขียว พร้อมทั้งคำนวณว่า รถยนต์ต้องอยู่ห่างจากไฟจราจรมากแค่ไหน ความเร็วของรถจะถูกส่งไปยัง Cloud เพื่อประมวลผลถึงความเสี่ยงที่ว่า ความเร็วขณะขับขี่ขนาดนี้ จะสามารถขับผ่านไฟเขียวไปได้ หรือควรเบรค ระบบจะทำงานด้วยการสตรีมข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้รถสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะในรถหรือนอกรถ รวมทั้ง มือถือสมาร์ทโฟน และแม้แต่สื่อสารกับรถคันอื่นบนถนน เช่น รถพยาบาล ไฟจราจร เป็นต้น ซึ่งนอกจากช่วยลดอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีอุบัติเหตุ หรือการจราจรติดขัดได้อีกด้วย

IoT Traffic แก่รถติด

การทดลองนี้เกิดขึ้นที่ เมืองบาเซลโลนา ประเทศสเปน และผลจากการทดลองพบว่า จำนวนอุบัติเหตุลดลงอย่างเห็นได้ชัด และในปัจจุบันนี้ รถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบเชื่อมต่อการสื่อสาร สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากถึง 20 เครื่อง มีรหัสปฏิบัติการณ์กว่าร้อยล้านแถว ทำให้ระบบสามารถประมวลผลได้รวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะมีรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารแบบนี้ ออกมาวิ่งบนท้องถนนมากกว่า 380 ล้านคันในปี 2564 อีกด้วย

ข้อมูลจาก www.researchgate.net ,www.semanticscholar.org

เรียบเรียงโดย P.ITSARA